ประวัติสมาคมพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอกแห่งประเทศไทย

Published: Saturday, 22 April 2017

         ในยุคของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือ Knowledge management ทำให้ทุกคนมีการตื่นตัวเพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเอง พยาบาลซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพ ต่างตื่นตัวทบทวนบทบาทของตนเองที่มีต่อบริการสุขภาพของประชาชนในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาการพยาบาลโรคหัวใจหลอดเลือดและทรวงอก ซึ่งมุ่งเน้นให้บริการต่อผู้ป่วยโรคหัวใจและทรวงอกอย่างครบวงจร ต่างก็มองเห็นความสำคัญของการรวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ทำให้เป็นที่มาของชมรมพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอกแห่งประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2530 และวิวัฒนาการมาเป็นสมาคมฯ เมื่อปี 2547

          ทุกท่านคงเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า  ?มองประวัติศาสตร์เพื่อประกาศอนาคต? นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงใดๆ ในอนาคต ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับความเป็นมาหรือภูมิหลังทั้งสิ้น ถ้าเราจะพูดถึงการพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอกในปัจจุบันคงจะต้องมองย้อนไปในอดีตเพื่อให้เข้าใจความเป็นมาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน

          การผ่าตัดหัวใจ ได้เริ่มมีในประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2496 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยศาตราจารย์นายแพทย์ สมาน มันตาภรณ์ ทำผ่าตัด Ligation ในเด็กอายุ 11 ปี ซึ่งเป็น PDA และต่อมาเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2497 ศาตราจารย์นายแพทย์กษาน จาติกวนิชย์ ผ่าตัดผู้ป่วย severe mitral stenosis ทำ mitral valvulotomy ที่โรงพยาบาลศิริราช ในผู้ป่วยหญิงโดยไม่ได้ใช้เครื่องถ่างลิ้นหัวใจ และในปีเดียวกันนี้เอง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ทำผ่าตัด Closed  mitral  valvulotomy จำนวน 4 ราย    

          ใน พ.ศ. 2497 นี้ที่ศิริราช ศาสตราจารย์แพทย์หญิง สลาด ทัพวงศ์ เพิ่งกลับจากสหรัฐอเมริกาใหม่ๆ และมีความสามรถในการให้ยาสลบทางท่อหลอดลม (endotracheal anesthesia) ได้อย่างดี และเป็นวิสัญญีแพทย์คนแรกในการทำผ่าตัดหัวใจและในปีนี้เอง ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ได้จัดตั้งหน่วยโรคหัวใจและทรวงอกขึ้น      
          
          การผ่าตัดโรคหัวใจ โดยวิธีเปิด (open heart surgery) ก่อนที่จะมีเครื่องหัวใจ และปอดเทียม (heart lung machine) มาช่วย การผ่าตัด open heart surgery ทำได้โดยการลงอุณหภูมิของผู้ป่วยให้เย็นลงถึง 28 ํC และทำในเวลาอันจำกัด 4 นาที เช่น การเย็บปิด ASD ทำที่โรงพยาบาลศิริราชเป็นครั้งแรกเมื่อพฤษภาคม 2502 และต่อมาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในเวลาใกล้เคียงกัน

          การใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียมช่วยในการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด เริ่มที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นครั้งแรกเพราะได้เครื่องมาก่อน โดยเริ่มในสัตว์ทดลองเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2501 และโรงพยาบาลศิริราชซึ่งได้เครื่องมาทีหลัง เริ่มทำในสัตว์ทดลองเมื่อกรกฎาคม 2502

           การใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียมในการผ่าตัดหัวใจคน ทำสำเร็จเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2502 โดยการผ่าตัดผู้ป่วยชายอายุ 22 ปี ซึ่งเป็น pulmonary valve stenosis ทำมี่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยนายแพทย์สมาน มันตาภรณ์ และต่อมาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2503 โรงพยาบาลศิริราชได้ทำกรรผ่าตัดครั้งแรกโดยใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียมช่วยในการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ซึ่งศัลยแพทย์ ได้แก่ ศาตราจารย์นายแพทย์กษาน จาติกวนิชย์ นายแพทย์ Ben Eiseman และศาตราจารย์นายแพทย์กัมพล ประจวบเหมาะ

           การผ่าตัดหัวใจโดยการใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียมช่วย ในระยะแรกมีแต่ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลศิริราช ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการผ่าตัดหัวใจโดยใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียมขึ้นที่โรงพยาบาลเลิศสินโดยนายแพทย์พันธุ์พิษณุ์ สาครพันธ์ โรงพยาบาลโรคทรวงอก นนทบุรี  โดยนายแพทย์กษาน จาติกว-นิชย์ นายแพทย์นิตย์ กองสุวรรณ และนายแพทย์อารักษ์ ปรปักษ์ขาม โรงพยาบาลหญิงและเด็ก โดยนายแพทย์พันธุ์พิษณุ์ สาครพันธ์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยนายแพทย์ ม.ร.ว.กัลยาณกิตติ์ กิติยากร ปี 2511 โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ปี 2516 โรงพยาบาลวชิระ ปี 2518 และโรงพยาบาลศรีนครินทร์ขอนแก่น ปี พ.ศ. 2526

Hits: 5287